วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ขมิ้นชัน สรรพคุณมากมี



สมุนไพร ขมิ้นชันสมุนไพรขมิ้นชันอีกหนึ่ง สมุนไพรไทย ที่มีสรรพมากมายเหลือเกิน คุณผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมนำ ขมิ้นชัน มาใช้ในการขัดผิว เพื่อให้ผิวพรรณดูสดใสนวลเนียนและขาวขึ้น แต่ คุณประโยชน์ของขมิ้นชัน ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ เพราะ สมุนไพรไทยขมิ้นชัน นั้น ยังมีประโยชน์และสรรพคุณนานา มาดูกันเลยดีกว่า

สรรพคุณ
ผลงานการวิจัย
1.จากการทดลองกับผู้ป่วยโรคท้องอืดท้องเฟ้อในโรงพยาบาล6แห่งจำนวน 160 คน โดยรับประทานครั้งละ2แคปซูลวันละ 4 ครั้ง และการทดลองในผู้ป่วยที่ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง (รวม 4 g) พบว่าได้ผลดี

2.การทดลองผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารในคน พบว่ารับประทานแคปซูลผงขมิ้น 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง พบว่า 5 คนหายใน 4 อาทิตย์ และ 7 คน หายใน 4-12 อาทิตย์

3.จากการทดลองรักษาแผลหลังผ่าตัด 40 ราย พบว่าให้ผลลดการอักเสบได้เหมือน phenylbutazone

4.การศึกษาในทางคลินิกเกี่ยวกับสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังพุพอง (ตุ่มและหนอง พุพอง) ในผู้ป่วยเด็ก 60 ราย โรงพยาบาลยาสูบ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เปรียบเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มหายทุกรายภายใน 3 อาทิตย์หลังการรักษา ไม่พบความแตกต่างระหว่างการรักษาผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม และไม่พบผลแทรกซ้อนจากการใช้ขมิ้นรักษา

5.จากการศึกษาพบว่าขมิ้นมีผลต่อการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย โดยจะทำให้สายของโครมาติกแยกออกจากกันเกิดการแตกหักและถูกทำลายในที่สุด

6.การทดลองทางคลินิกในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องด้วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยเปรียบเทียบกับการใช้ยาไตรซิลิเกต (trisilicate) ซึ่งเป็นยาลดกรดขององค์การเภสัชกรรมอาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยขมิ้นชันครบ 12 สัปดาห์ จำนวน 15 รายคิดเป็น 60% หายเป็นปกติ 1 รายคิดเป็น 5.8% อาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยยาไตรซิลิเกต (trisilicate) 5 รายคิดเป็น 50% และหายเป็นปกติ 4 รายคิดเป็น 40%

7.การทดลองในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องและอาการอื่น ๆ ที่บ่งถึงภาวะแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กโดยให้รับประทานขมิ้นแคปซูล 250 mg (2 แคปซูล) วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ให้ผลการรักษาดีไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเลือด
8.การทดลองในผู้ป่วยโดยให้ขมิ้น 250 mg (2 แคปซูล) วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน ทดสอบโดยการส่องกล้องในสัปดาห์ที่ 0,4 ,8 และ 12 สัปดาห์ หลังจากรักษาด้วยขมิ้นในผู้ป่วย 10 คน เป็นชาย 8 คน และ หญิง 2 คน อายุระหว่าง 16?60 ปี เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแผล 0.5 ? 1.5 ซม. ได้รับขมิ้นชันครั้งละ 500 mg วันละ 4 ครั้ง หลังจากรักษาไปได้ 4 สัปดาห์ มี 5 คน ที่แผลหายและอีก 6 คน แผลหายในช่วงสัปดาห์ที่ 12

9. การทดลองในผู้ป่วยชาย 24 คนและหญิง 21 คน ให้รับประทานขมิ้นแคปซูล 300 mg (2 แคปซูล) 5 เวลา คือ ก่อนอาหาร ชั่วโมงที่ 16 และก่อนนอน หลังจากนั้น 4 สัปดาห์มี 12 ราย แผลหาย (48%) และในสัปดาห์ที่ 8 มี 18 รายแผลหาย (76%) และอีก 19 รายที่แผลไม่หายใน 12 สัปดาห์ มี 20 รายไม่พบแผลในกระเพาะอาหารแต่มีอาการปวดท้อง กระเพาะอาหารอักเสบและอาหารไม่ย่อย และยังพบอีกว่าอาการปวดท้องและไม่สบายท้องหายไป เมื่อให้ขมิ้นแคปซูลใน 1-2 สัปดาห์แรก และสามารถรับประทานอาหารได้ปกติแทนอาหารอ่อนได้ใน 4 สัปดาห์ ระดับสารต่าง ๆ ในเลือดของผู้ป่วย 54 คน ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

10.ขมิ้นชันไม่มีผลต่อตัวอ่อนไม่ลดการสร้างอสุจิ ไม่มีผลต่อการยับยั้งการตกไข่

11.การทดลองทางคลินิกแบบ randomized double-blind multicenter study เพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของขมิ้นชันในการรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (dyspepsia) ในผู้ป่วยจำนวน 106 คน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับขมิ้นชันครั้งละ 500 mg (มีปริมาณCurcuminiods 9.6 % และน้ำมันหอมระเหย 8%)วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7วัน มีอาการดีขึ้น ใกล้เคียงกับกลุ่มที่ได้รับยา flatulence และดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ

12.จากการทดลองของทีมนักเคมีโภชนาที่มูลนิธิสาธารณสุขอเมริกาในวัลฮาลลาที่นิวยอร์ค (The American Health Foundation, Valhalla, N.Y) พบว่าชาวเอเชียในบางท้องถิ่นเป็นมะเร็งลำไส้กันน้อย เมื่อลงไปศึกษาอาหารการกินที่เขากินกันพบว่าขมิ้นที่ชาวอินเดียใช้แก้ปวดท้องและอาการป่วยอื่น ๆ ซึ่งมีสาร Curcumin อยู่ออกฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งได้ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Cancer Reseach (มกราคม 1995)

13.จากการทดลองพบว่าขมิ้นชันสามารถต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
ความเป็นพิษ
Curcumin นอกจากจะไม่เป็นพิษต่อเซลล์แล้ว ยังสามารถยับยั้งการเกิดก้อนเนื้องอกในระยะแรกและในระยะที่ 2 แต่ถ้าใช้ Curcumin ในปริมาณถึง 100 mg/kg จะเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีผลลดการหลั่ง mucin
การทดสอบความเป็นพิษในหนูขาว พบว่าทั้งขมิ้นและ Curcumin ในขนาดที่สูงกว่าที่ใช้ในคน 1.25?125 เท่า ไม่มีผลต่อการเปลี่ยน แปลงในด้านการเจริญเติบโตและระดับสารเคมีในเลือดไม่พบพิษเฉียบพลันในหนูเมื่อให้ขนาดต่าง ๆ


วิธีการใช้ตามภูมิปัญญาไทย

- ใช้เหง้าแก่ตากแห้งบดเป็นผง ขนาด 500 มก. ปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้งหรือใส่แคปซูล รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
- ใช้ แง่งขมิ้นชันล้างสะอาดตำละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ เจือน้ำสุกเท่าตัวอาจเติมเกลือเล็กน้อยให้ทานง่ายขึ้น รับประทานครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง แก้ท้องร่วงแก้บิด
- ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุกหรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- เอาผงขมิ้นผสมกับน้ำฝนคนให้เข้ากันดีทาบริเวณที่เป็นกลากเช้าและเย็น
- ขูดเอาเนื้อที่หัวขมิ้นทาบริเวณที่ยุงกัด
- ผสมผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าว 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนคนจนน้ำมันกลายเป็นสีเหลืองใช้ใส่แผลสด
- ผสมขมิ้นกับน้ำปูนใสเล็กน้อยและผสมสารส้มหรือดินประสิวพอกบริเวณที่เป็นแผล แก้เคล็ดขัดยอกได้ด้วย


ข้อควรระวัง

1. การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุด
3.Curcumin จะมีฤทธิ์ลดการอักเสบ เป็นสัดส่วนกับขนาดที่ใช้จนถึงขนาด 30 มิลลิกรัม / กิโลกรัม เมื่อให้สูงกว่านี้ ฤทธิ์จะลดลง
4.ผู้ป่วยที่มีการอุดตันในท่อน้ำดี เช่น มีนิ่วควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ขมิ้นชัน
5.ระวังการใช้ในหญิงมีครรภ์ หากใช้ในปริมาณสูงจะทำให้เกิดการแท้งได้โดยเฉพาะระยะแรกของการตั้งครรภ์


credit samonpri.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น